วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันเข้าพรรษา








วันเข้าพรรษา



ศาสนาเปรียบเสมือนเข็มทิศที่คอยบอกนำทิศทางที่ถูกต้องแก่มนุษย์ ชนทุกกลุ่มล้วนต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อให้ชีวิตมีแนวทางที่ดำเนินไปในทางที่ดีที่เหมาะสม เช่นเดียวกับ ศาสนาพุทธ ที่มีพระธรรมคำสอนให้ชาวพุทธได้ยึดและปฏิบัติเป็นระยะเวลานานกว่า ๘๐๐ ปี วันสำคัญต่างๆทางพระพุทธศาสนา คือวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญอันเกิดขึ้นเนื่องด้วยพระรัตนตรัย ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เพื่อหลอมรวมจิตใจพุทธศาสนิกชนทุกคนให้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องและดีงามด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้มีการกำหนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หนึ่งในวันสำคัญที่จะกล่าวถึงนั้นคือ วันเข้าพรรษา


ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา  เหล่าภิกษุสงฆ์มีหน้าที่จาริกโปรดสัตว์และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนในที่ต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆแม้ในฤดูฝนในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์ไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝนนั้น อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา ๓ เดือน ในช่วงฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนแปดหลัง  และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา ถือว่าพรรษาขาด 




ชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีลฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนก็จะพากันถวายเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ต่างๆ เช่น สบู่ ยาสีฟัน อาหารทั้งคาวหวานและเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตนพระภิกษุสงฆ์จะแนะนำสั่งสอนให้เกิดศรัทธาในการปฏิบัติตามหลักทานศีลและภาวนาและความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่นๆ รวมทั้งชาวบ้านยังมีการรักษาศีลด้วยการงดอบายมุขทุกชนิดอีกด้วยนับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันเข้าพรรษาสืบเนื่องมาถึงจนปัจจุบัน




นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญ คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" เนื่องด้วยในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนเพื่อใช้ในการจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าเป็นการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนสติปัญญา ชีวิตพบกับหนทางสว่างไสว เมื่อหล่อเทียนเสร็จก็จะมีการแห่รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีที่สืบทอดต่อกันมา
ในปัจจุบันในยุคที่กำลังพัฒนาไปทั่วทุกด้าน สิ่งหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนไทยควรคำนึงไว้เสมอ แม้เราจะมีพระพุทธศาสนาที่ประยุกต์กับวัฒนธรรมไทย แต่อย่าทิ้งหลักการอุดมการณ์ดั้งเดิมของพุทธศาสนา พยายามศึกษาทำความเข้าใจสาระที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาทุกๆ ด้าน ทั้งที่เป็นศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และ ศาสนสถาน เพื่อปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พร้อมที่จะยืนหยัดและรักษาหลักการของพระพุทธศาสนาเอาไว้ ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทุกคนควรส่งเสริม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อคู่กับสังคมไทยตลอดไปนานเท่านาน



น.ส.มาริสา วงศ์ศิริ 018                  
น.ส.สมิตานัน หวายเค 020             
น.ส.ดาริญญา ลักษณะกุลบุตร 022 
น.ส.ณัฐนิชา นุ่นลอย 025               
น.ส.ขจีพรรณ กล่อมโกมล  027      
น.ส.บีบีฮาวา เก่งกาจกุล 032          
น.ส.พิสชา กาญจนวิวิญ 033              
น.ส.ภัทริณี โพธิสระ   040               
น.ส.ชญาภา พิศาลภัทรกิจ 060 




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

สารคดี Template by Ipietoon Cute Blog Design